เมนู

มหาวรรค ญาณกถา
ว่าด้วย ความหมายของปัญญาญาณ


[1] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ
อย่างไร ?
ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัด
ธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ธรรมเหล่านี้ควร
รู้ยิ่งเป็นสุตมยญาณ, ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา ปริญฺเญยฺยา
ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้... อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ธรรมเหล่านี้
ควรละ... อิเม ธมฺมา ภาเวตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ...
ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความ
เสื่อม ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ... ธรรมเหล่านี้
เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการ
ชำแรกกิเลส... สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง . . . สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... นี้ทุกขอริยสัจ ... นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ...
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (แต่ละอย่าง)
เป็นสุตมยญาณ.

1. สุตมยญาณกถา
อรรถกถาวิสัชนุทเทส


1] บัดนี้ ท่านปรารภนิทเทสวารมีอาทิว่า กถํ โสตาวธา-
เน ปญฺญา สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมา
แล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณ คืออย่างไร ?
ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรม
ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยอุทเทสตามที่ได้ยกขึ้นแสดงแล้วเป็นประเภท ๆ
ไป.
ในนิทเทสวารนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า โสตาวธาเน
ปญฺญา, สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
ชื่อว่า สุตมยญาณ
ดังนี้ คำนี้เป็นคำถามเพื่อจะกล่าวแก้ด้วยตนเองว่า
สุตมยญาณนั้นเป็นอย่างไร ? จริงอยู่ ปุจฉา - คำถามมี 5 อย่าง คือ
1. อทิฏฺฐโชตนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะส่องความที่ยังไม่เห็น
2. ทิฏฺฐสํสนฺทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว
3. วิมติจฺเฉทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตัดความสงสัย
4. อนุมติปุจฺฉา - ถามเพื่อจะสอบสวนความรู้
5. กเถตุกมฺยตาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตอบเอง.
ความต่างกันแห่งปุจฉา 5 อย่างนั้นมีดังต่อไปนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน* ? คือ บุคคลย่อมถามปัญหา
เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อจะเปรียบเทียบ เพื่อจะใคร่ครวญ เพื่อจะ
1. ขุ. มหา. 29/700.